ยูริก คือ ภัยเงียบคุกคามสุขภาพของเรา บางคนไม่คิดเลยว่า ยูริกจะอันตราย คิดว่าเป็นแค่ค่าๆ หนึ่ง ที่จริงแล้วยูริกเป็นตัวหนึ่งที่สำคัญที่ช่วยบอกโรคต่างๆ ที่จะตามมาได้หากยูริกสูงหรือไม่ได้ดูแลยูริก ซึ่งยูริกสูงทำให้เกิดโรคโรคเกาต์ โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ นิ่วในทางเดินปัสสาวะ ไตวายเรื้อรัง โรคอ้วนลงพุง วันนี้เราจึงพามารู้จักกับสาเหตุที่ทำให้ยูริกสูง เพื่อที่เราจะได้ดูแลยูริกได้อย่างใกล้ชิดและปลอดภัยกันนะคะ 1. เกิดจากอาหาร 50% ของยูริกที่สูงอยู่ในเลือดเกิดจากอาหาร เช่น เครื่องในสัตว์, เนื้อสัตว์, น้ำซุป น้ำแกง กุ้ง, หอย, ปลาซาร์ดีน, ปลาอินทรีย์, หน่อไม้, ดอกกะหล่ำ, ชะอม, เห็ด, ถั่วแดง, ถั่วเหลือง เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยเฉพาะเบียร์ เป็นต้น 2. ร่างกายสร้างขึ้นเอง 50% ของยูริกสูงเกิดจากร่างกายเราสร้างขึ้นเอง เวลาที่เรากินเยอะก็จะมีอนุมูลอิสระเยอะ แล้วก็จะมียูริกออกมาเยอะด้วย ยูริกเปรียบเหมือนสารต้านอนุมูลอิสระของร่างกาย ปกติกระบวนการสร้างสารต้านอนุมูลอิสระในร่างกายจะมียูริกออกมาด้วย ยิ่งกินเยอะมากเท่าไหร่ เวลาที่ร่างกายเผาผลาญอาหารเพื่อให้ได้พลังงานออกมาก็จะมีของเสียออกมาด้วย ของเสียเหล่านั้นเรียกว่า อนุมูลอิสระ เมื่อมีอนุมูลอิสระเยอะ ร่างกายจะต้องสร้างสารต้านอนุมูลอิสระขึ้นมา เวลาที่ร่างกายจะสร้างสารต้านอนุมูลอิสระขึ้นมาจะมียูริกออกมาด้วย 3. […]
Author Archives: admin
ในปัจจุบัน “โรคหัวใจ” (Heart Disease) เป็นสาเหตุหนึ่งของการเสียชีวิตที่มากที่สุดในโลก โดยความผิดปกตินั้นอาจเกิดขึ้นได้ในส่วนของหัวใจที่ต่างกัน จึงทำให้มีอาการที่แตกต่างกันได้ หากเราเข้าใจเกี่ยวกับโรคหัวใจและทราบถึงปัจจัยเสี่ยง ก็จะมีโอกาสลดความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจได้ วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกัน 6 ประเภทของโรคหัวใจที่ควรรู้จักและเฝ้าระวัง ดังนี้ค่ะ 1️⃣ โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดหัวใจเกิดจากการตีบหรืออุดกั้นของหลอดเลือดที่ส่งอาหารและออกซิเจนไปยังกล้ามเนื้อหัวใจ ซึ่งอาจนำไปสู่ภาวะหัวใจขาดเลือด หรือหัวใจวาย เสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้ ⚠️ ปัจจัยเสี่ยง: ความอ้วน ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และการสูบบุหรี่ 🫀 อาการ: รู้สึกเจ็บแน่นหน้าอก ร้าวไปตามกราม แขน ลำคอ ตัว อ่อนเพลีย หรือหมดสติได้ 2️⃣ โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะเป็นสภาวะที่หัวใจเต้นไม่สม่ำเสมอ ซึ่งอาจเกิดจากความผิดปกติของระบบนำส่งสัญญาณไฟฟ้าของหัวใจ และอาจนำไปสู่ความผิดปกติของร่างกายได้ ⚠️ ปัจจัยเสี่ยง: โรคหลอดเลือดหัวใจ ความดันโลหิตสูง ความเครียด และการใช้สารเสพติด 🫀 อาการ: หัวใจอาจเต้นเร็วหรือช้ากว่าปกติ ใจสั่น เหนื่อยง่าย แน่นหน้าอก เวียนศีรษะ หรือคล้ายจะเป็นลม 3️⃣ โรคกล้ามเนื้อหัวใจ […]
เบาหวานเป็นโรคที่มีผลกระทบต่อระบบร่างกายหลายอย่าง ซึ่งสิ่งที่สำคัญที่สุดคือการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด การที่ผู้ป่วยเบาหวานไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้อย่างเหมาะสมจะส่งผลที่ร้ายแรงต่อสุขภาพในระยะยาว การไม่สามารถควบคุมน้ำตาลในเลือดนั้นหมายถึง ผู้ที่มีระดับน้ำตาลในตอนเช้าสูงกว่า 130 mg/dl หรือระดับน้ำตาลสะสมเฉลี่ยสามเดือน (HbA1C) มากกว่า 7 mg% ซึ่งอาจก่อให้เกิดโรคแทรกซ้อนที่ร้ายแรงตามมาได้ ดังเช่น ❌ โรคหลอดเลือดสมอง: การเป็นเบาหวานเสี่ยงต่อการเกิดโรคอัมพฤกษ์และอัมพาต ซึ่งเป็นสาเหตุของความพิการและความตายที่มากขึ้นในผู้ป่วยเบาหวาน ❌ ไตวายจากเบาหวาน: เบาหวานสามารถส่งผลกระทบต่อการทำงานของไต ทำให้การกรองของไตลดลง ส่งผลสู่ไตวายในระยะยาว ❌ เส้นประสาทเสื่อม: ระดับน้ำตาลในเลือดสูงอาจทำให้เส้นประสาทเสื่อมและเกิดอาการชาปลายมือ ปลายเท้า หรือสมรรถภาพทางเพศลดลง ❌ เบาหวานขึ้นจอประสาทตา: การมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงอาจทำให้เกิดความเสื่อมของจอประสาทตา ทำให้ต้อกระจกและเสี่ยงต่อการเสียวิสัย ❌ โรคหลอดเลือดเลือดหัวใจ: ผู้ป่วยเบาหวานมีความเสี่ยงสูงในการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งสามารถนำไปสู่การขาดเลือดที่กล้ามเนื้อหัวใจ และหัวใจวาย ความเสี่ยงนี้ยิ่งสูงขึ้นถ้าผู้ป่วยมีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ เช่น ความดันโลหิตสูง และโรคไขมันในเลือด ❌ สูญเสียประสาทรับรู้ที่เท้า: เบาหวานสามารถทำให้เสียประสาทรับรู้ที่เท้า นำไปสู่การเกิดแผลที่เท้า ซึ่งเป็นแผลหายยาก ในกรณีที่รักษาไม่ได้ อาจจำเป็นต้องตัดเท้า ดังนั้น การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดเป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน เพื่อป้องกันความเสี่ยงในการเกิดโรคร้ายแรงตามมา การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ดี อาทิ ✅ ควบคุมอาหาร […]
ในสมัยก่อน “โรคหัวใจ” นั้นเคยถือว่าเป็นโรคของผู้สูงอายุ แต่ปัจจุบันคงไม่เป็นความจริงอีกต่อไปแล้ว เนื่องจากมีคนป่วยเป็นโรคหัวใจตั้งแต่อายุยังน้อยสูงมากขึ้นเรื่อยๆ ทุกปี จากข้อมูลในปี 2564 พบว่า “โรคหัวใจขาดเลือด” คือสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 4 ของคนไทย (รองจากโรคมะเร็ง โรคหลอดเลือดในสมอง และปอดบวม) โดยมีผู้เสียชีวิตมากถึงปีละกว่า 20,000 คน! แล้วสาเหตุเป็นเพราะอะไร? ลองมาฟังคำชี้แจงจากผู้เชี่ยวชาญกันดูค่ะ ศูนย์ป้องกันและควบคุมโรค (CDC) ระบุว่า เหตุผลที่โรคหัวใจเกิดขึ้นในกลุ่มวัยหนุ่มสาวมากขึ้นก็คือ ในปัจจุบันมีปัจจัยที่ทำให้คนเสี่ยงต่อโรคหัวใจตั้งแต่อายุน้อยกันมากขึ้น ได้แก่ การมีภาวะโรคอ้วน ความดันโลหิตสูง และไขมันในเลือดสูง ซึ่งคนเริ่มเป็นกันมากขึ้นตั้งแต่ช่วงอายุ 35 ปี นอกจากนี้ การสูบบุหรี่หรือมลพิษในอากาศก็เป็นอีกปัจจัยสำคัญ เนื่องจากมีสารพิษที่เป็นอันตรายต่อหลอดเลือดและหัวใจนั่นเองค่ะ แต่ในข่าวร้ายยังมีข่าวดี เพราะโรคหัวใจส่วนใหญ่นั้นมักมีสัญญาณเตือนที่สามารถสังเกตได้ไม่ยาก และรักษาได้ทันก่อนที่จะสายเกินไป โดยอาการที่ควรสังเกตและเฝ้าระวังนั้น ได้แก่ : มีอาการเจ็บหน้าอกเหมือนมีของหนักกดทับ เจ็บหน้าอกร้าวไปกราม ขากรรไกร คอ แขน ไหล่ หลัง เจ็บหน้าอกร่วมกับเหงื่อออก ตัวเย็น ใจสั่น เหนื่อยง่าย ออกกำลังกายได้น้อยลง มีภาวะหัวใจล้มเหลว […]
หากเรามีคอลเลสเตอรอลสูง เราอาจอยากรู้ว่าจะมีวิธีไหนบ้างที่จะช่วยลดคอเลสเตอรอลได้โดยไม่ต้องพึ่งยา ซึ่งการปล่อยให้คอเลสเตอรอลสูงจะเพิ่มโอกาสเกิดหัวใจวายและโรคหลอดเลือดสมองได้ จึงเป็นสิ่งจำเป็นมากที่เราจะต้องควบคุมเรื่องคอเลสเตอรอลของเราอย่างใกล้ชิด ซึ่งการลดคอเลสเตอรอลโดยไม่ต้องกินยา สามารถทำได้ด้วยการเปลี่ยนแปลงอาหารและกิจวัตรประจำวันของเราเอง ทั้งกินอาหารที่ดีต่อการลดคอเลสเตอรอลเป็นพิเศษ การออกกำลังกายที่เราสามารถทำได้เอง ✨ ตัวช่วยดูแลคอเลสเตอรอล เป็นที่รู้กันอยู่แล้วว่า การคุมคอเลสเตอรอลให้ดี ควรกินอาหารที่ดีต่อสุขภาพ หรือการเลือกกินอาหารเสริมเป็นแนวทางแรกๆ ที่จะช่วยคุมคอเลสเตอรอลได้ 🔹 1. กระเทียม การกินกระเทียมดีต่อสุขภาพมากมาย ทั้งช่วยลดคอเลสเตอรอลลงได้ ช่วยลดไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์ และยังช่วยลดความดันโลหิตได้ด้วย 🔹 2. ขิง ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ และยังช่วยเพิ่มไขมันดี HDL อีกด้วย อาจทานเป็นขิงสดหรือปรุงในอาหาร หรือเป็นอาหารเสริมก็ได้เช่นกัน 🔹 3. เมล็ดแฟลกซ์ ไม่ว่าจะที่เป็นเมล็ดหรือเป็นน้ำมันที่สกัดออกมาต่างก็เป็นแหล่งไขมันโอเมก้า 3 ที่ดี มีประโยชน์ต่อสุขภาพมากมาย ช่วยลดคอเลสเตอรอล รวมถึงเพิ่มระดับ HDL ได้ 🔹 4. ข้าวยีสต์แดง เป็นข้าวที่หมักด้วยยีสต์ ช่วยลดคอเลสเตอรอลได้ เนื่องจากมีสารออกฤทธิ์ที่เรียกว่า Monacolins จะไปขัดขวางการผลิตคอเลสเตอรอล มีองค์ประกอบทางเคมีเหมือนกับกลุ่ม statin ชื่อ lovastatin ที่เป็นยาลดคอเลสเตอรอล […]
ปกติร่างกายของเราจะผลิตคอเลสเตอรอลได้เองตามธรรมชาติ แต่การใช้ชีวิตที่ไม่ดีส่งผลทำให้ร่างกายผลิตคอเลสเตอรอลที่ไม่ดี (LDL) ออกมามากกว่าที่ร่างกายต้องการ จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้คอเลสเตอรอล (LDL) สูงในคนส่วนใหญ่ ปกติคอเลสเตอรอลมาจากการกิน 20% และมาจากร่างกายสร้างขึ้นเอง 80% ร่างกายสร้างคอเลสเตอรอลขึ้นมามีอยู่ 2 ประเด็น คือ ➥ 1.) กิน Trans Fat ถ้ากินไขมันทรานส์เข้าไปก็จะไปกระตุ้นให้ร่างกายสร้างคอเลสเตอรอลขึ้น ➥ 2.) ปัญหาเรื่องฮอร์โมน คอเลสเตอรอลเป็นสารตั้งต้นในการไปสร้างฮอร์โมนต่างๆ ซึ่งฮอร์โมนในร่างกายมีเยอะ แต่มีฮอร์โมนอยู่จำนวนหนึ่งที่สร้างจากคอเลสเตอรอล ถ้าร่างกายมีปัญหาเรื่องฮอร์โมนในกลุ่มที่สร้างจากคอเลสเตอรอลก็จะทำให้มีคอเลสเตอรอลสูงขึ้นได้ ลดคอเลสเตอรอลโดยใช้ยาน้อยที่สุด เลี่ยงไขมันทรานส์ ➠ ทั้งที่เป็นมาการีน เนยเทียม ไขมันพืช คอฟฟี่เมตต่างๆ โดยเฉพาะในอาหารกลุ่มพวกที่เป็นเบเกอรี่ ขนมปัง พยายามเลี่ยงกลุ่มพวกนี้ให้หมด เพราะมีแนวโน้มสูงที่จะมีไขมันทรานส์ผสมอยู่ ถ้าเราเลี่ยงกลุ่มนี้ได้และเราไม่ได้บริโภคไขมันทรานส์เข้าไปเพิ่ม การที่มีไขมันทรานส์จะไปกระตุ้นให้เราสร้างคอเลสเตอรอลเยอะขึ้น กินอาหารดีต่อสุขภาพ ➠ เน้นกินอาหารเพื่อสุขภาพ เช่น ผลไม้ ผัก ธัญพืชเต็มเมล็ด สัตว์ปีก ปลา ถั่ว และจำกัดการกินเนื้อแดง เนื้อสัตว์แปรรูป อาหารและเครื่องดื่มที่มีโซเดียมและอาหารที่มีน้ำตาล ลดอาหารทอด […]
ความดันโลหิตสูง จะเกิดขึ้นเมื่อแรงดันในเส้นเลือดมีมากเกินไป มีผลให้ประสิทธิภาพของหลอดเลือดและหลอดเลือดหัวใจลดลงและต้องทำงานหนักขึ้น เมื่อแรงดันแบบนี้เกิดขึ้นบ่อยเข้า เนื้อเยื่อในเส้นเลือดจะอ่อนแอลงเรื่อยๆ จนเสียหาย เป็นแผล เป็นผลให้ผนังหลอดเลือดเกิดการแข็งตัว ทั้งไขมันเลว คอเลสเตอรอลตัวร้ายก็จะมาเกาะอยู่รอบแผลนี้และหนาตัวขึ้นจนบีบให้หลอดเลือดแคบลง อาจรุนแรงถึงขั้นหัวใจวายเพราะขาดเลือด หรือเส้นเลือดแตกจนเสียชีวิตได้ค่ะ สาเหตุที่แรงดันนั่นเพิ่มขึ้นเป็นไปได้หลายสาเหตุ แต่ปัจจัยเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นมาจากพฤติกรรม เช่น การทานไขมันเป็นประจำ กินจุเกินไป สูบบุหรี่ ทานอาหารรสจัด ดื่มแอลกอฮอล์บ่อยและความเครียด เป็นที่รู้กันดีอยู่แล้วว่าความดันโลหิตสูงนั่นเกี่ยวข้องกับโรคหัวใจอย่างแน่นอน แต่รู้หรือไม่ว่า? ความดันโลหิตสูงยังเกี่ยวข้องกับโรคอัลไซเมอร์ด้วยนะคะ จากผู้เข้าร่วมทดลองอายุ 65 ปีหรือสูงกว่าถึง 1,288 คน โดยมีการเช็คความดันโลหิตและระบบประสาทอย่างสม่ำเสมอ เก็บข้อมูลประวัติการรักษาและสุขภาพของผู้เข้าร่วมก่อนหน้านี้ รวมทั้งชันสูตรสมองเมื่อผู้เข้าร่วมทดลองเสียชีวิต ผลที่ได้ก็คือ นักวิจัยพบว่าในผู้เข้าร่วมที่มีภาวะความดันโลหิตสูงกว่ามาตรฐานจะพบเนื้อเยื่อสมองที่ตายจากการขาดเลือดเนื่องจากหลอดเลือดถูกปิดกั้น ในสมองยังพบโปรตีนที่จับกันเป็นก้อน (plaques) และ เส้นใยโปรตีนที่พันกัน (tangles) ทั้งสองอย่างนี้เป็นโปรตีนในรูปแบบที่เป็นพิษต่อร่างกาย มันจะไปหยุดการส่งสัญญาณของสมองทำให้เซลล์สมองตาย การพบโปรตีนสองอย่างนี้ถือว่าเป็นอีกหลักฐานหนึ่งของภาวะสมองเสื่อมค่ะ แม้การวิจัยชิ้นนี้จะเป็นการวิจัยแบบสำรวจผลไม่ได้มีการกำหนดกลุ่มตัวอย่างอย่างชัดเจน แต่ตัวเลขที่นักวิจัยพบก็ยืนยันได้ว่าความดันและอาการอัลไซเมอร์นั่นมีแนวโน้มจะเกี่ยวข้องกันสูงมากๆ วิธีคงระดับความดันโลหิตให้เห็นปกตินั่นทำได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมดังนี้ค่ะ ลดน้ำหนัก ออกกำลังกายอยู่เป็นประจำ ทานไขมันดี งดทานเค็มและอาหารที่มีโซเดียมสูง เลิกสูบบุหรี่ จำกัดปริมาณแอลกอฮอร์ ดูแลจิตใจให้แข็งแรง โดยสรุปแล้ว อะไรก็ตามที่ดีต่อหัวใจ ก็ดีต่อสมองด้วยนั่นเองค่ะ ความดันโลหิตสูงอาจไม่ได้อันตรายด้วยตัวมันเอง […]
หลายคนมีความเชื่อว่าการรักษาความดันโลหิตสูงจะต้องทานยาอย่างเดียวเท่านั้น แต่ความจริงแล้วการรักษาความดันโลหิตสูงมีวิธีอื่นๆ นอกจากทานยา และสามารถลดความดันได้อย่างยั่งยืนอีกด้วย 🟦 1. มีเครื่องวัดความดันที่บ้าน การวัดความดันที่บ้านสามารถบ่งบอกความดันของผู้ป่วยได้ดีกว่าวัดที่โรงพยาบาล เนื่องจากเราอยู่บ้านเป็นประจำสามารถตรวจได้บ่อยมากกว่า แนะนำให้วัดความดันทุกวัน 2 ช่วงเวลา คือ หลังตื่นนอนตอนเช้า 1 ชั่วโมง และก่อนนอน หากใครที่รักษาด้วยการทานยาควรวัดก่อนทานยา 🟦 2.ออกกำลังกาย ออกกำลังกายให้รู้สึกแค่เหนื่อยเพียงเล็กน้อย ไม่หักโหมเกินไป อาจเป็นการออกกำลังกายประเภทแอโรบิก เดินเร็ว หรือจ็อกกิ้ง ตามความเหมาะสมของร่างกาย แนะนำให้ออกกำลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ 150 นาที แต่หากวัดความดันแล้วสูงเกินกว่า 180/100 มิลลิเมตรปรอท ควรงดออกกำลังกายและปรึกษาแพทย์ 🟦 3. ลดเค็ม ลดโซเดียม การกินเค็มทำให้ความดันเพิ่มขึ้นได้ และทำให้ไม่สามารถควบคุมความดันได้ ลดเค็ม คือ ลดเกลือโซเดียมให้ต่ำกว่า 2 กรัม/วัน เทียบกับกับเกลือแกงเท่ากับ 1 ช้อน/วัน เทียบกับซีอิ๊ว ซอสปรุงรส น้ำปลา เท่ากับ 4 ช้อน/วัน นอกจากเครื่องปรุงต่างๆ แล้ว […]
หลายคนอาจจะเคยเห็นคนที่เป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต นอนติดเตียง ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ซึ่งการที่เป็นโรคนี้คือ มักเป็นแบบกะทันหัน บางทีอยู่ดีๆ เส้นเลือดจะแตกก็แตกเลย แตกปุ๊ปก็มีอาการเลย นอกจากจะลำบากตัวเองแล้ว ยังลำบากคนที่เรารัก ลำบากครอบครัวที่จะต้องคอยมาดูแลและรับผิดชีวิตของตัวเราหลังเรามีอาการเหล่านั้น ซึ่งเราควรต้องคุมสิ่งนี้กันเพื่อที่จะป้องกันการเกิด “เส้นเลือดสมองแตก” 1️⃣ คุมเรื่องความดันโลหิต ความดันโลหิตเป็นตัวหลักที่ทำเกิดปัญหาหลอดเลือดสมอง พบว่า 80% ของคนที่เกิดหลอดเลือดสมองแตกเป็นความดันโลหิตสูง เพราะฉะนั้นถ้าคุมเรื่องความดันโลหิตได้ดีก็จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดหลอดเลือดสมองแตกได้ (ความดันโลหิตที่ดี คือ ความดันโลหิตที่ต่ำกว่า 120/80) 2️⃣ การออกกำลังกาย การที่วันๆ หนึ่งเราได้แต่นั่งๆ นอนๆ ไม่ได้ออกกำลังกาย ซึ่งจะทำให้หลอดเลือดเราเสื่อม เมื่อเกิดหลอดเลือดเสื่อมก็จะเกิดปัญหาของเรื่องหลอดเลือดสมองแตกได้ง่าย เพราะฉะนั้นพยายามขยับร่างกาย หรือออกกำลังกายได้จะยิ่งดีก็จะช่วยป้องกันความเสี่ยงนี้ได้ 3️⃣ การสูบบุหรี่ การสูบบุหรี่ทำให้เกิดหลอดเลือดเสื่อมได้อย่างตรงเลย 4️⃣ การอักเสบเรื้อรัง เมื่อหลอดเลือดมีภาวะอักเสบ หลอดเลือดก็จะค่อยๆ เสื่อม การอักเสบเรื้อรังเป็นต้นเหตุของโรคเรื้อรังต่างๆ แทบทั้งหมด การลดการอักเสบของหลอดเลือด มี 2 ข้อ คือ ✅ น้ำตาล กินน้ำตาลน้อยๆ เพราะน้ำตาลทำให้เกิดการอักเสบ ✅ […]
HDL เป็นไขมันดี ยิ่งมีเยอะยิ่งดี ถ้ามีน้อยจะไม่ดีต่อร่างกาย ตัว HDL ในผู้ชายถ้าต่ำกว่า 40 ถือว่า ต่ำ ในผู้หญิงถ้าต่ำกว่า 50 ถือว่า ต่ำ ซึ่งถ้าค่า HDL ต่ำ ความเสี่ยงในการเกิดโรคต่างๆ ไม่ว่าจะหลอดเลือดหัวใจ หลอดเลือดสมองจะเพิ่มขึ้น โดยไม่ได้สำคัญเพียงแค่ไขมันเลวสูง HDL ต่ำก็มีความสำคัญ วันนี้เราจะมาพูดคุยกันในเรื่องของ หน้าที่ที่สำคัญของ HDL ว่ามีอะไรบ้าง? กันค่ะ HDL ลดการอักเสบของหลอดเลือด ปกติเราจะกลัวไขมันเลว LDL เพราะว่าไขมันเลว LDL จะไปอุดตันหลอดเลือด พอมันอุดตันหลอดเลือดหัวใจก็จะเกิดการเจ็บหน้าอก เกิดโรคหัวใจขึ้นมา พอเวลาที่มันเกิดอุดตันหลอดเลือดสมอง ก็เกิด “Stroke” มีปัญหาเรื่องของอ่อนแรง มีอาการทางระบบประสาท โดยเริ่มต้นที่ว่าเวลาที่ก่อนมันจะอุดตัน สิ่งที่เกิดขึ้นอันดับแรก คือ หลอดเลือดอักเสบก่อน พอหลอดเลือดอักเสบไขมันจะเข้ามาเกาะทันที เพราะฉะนั้น HDL เป็นตัวที่ลดการอักเสบของหลอดเลือด ตัวช่วยอีกตัวช่วยหนึ่งที่ช่วยลดการอักเสบของหลอดเลือดได้ คือ Fish Oil HDL […]